ชีวิตประจำวันของเทรดเดอร์
ถ้าชีวิตประจำวันของเราตื่นมาคือล้างหน้าแปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ทานข้าว แล้วออกไปทำงาน ในการเป็นเทรดเดอร์ ก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องมีกิจวัตรพื้นฐานเช่นกัน
.
มีหลายคนที่สอบถามซาร่าเข้ามา ว่าถ้าเป็นมือใหม่ อยากจะลองเข้ามาเทรดทองคำดู แต่ละวันจะต้องทำอะไร ฝึกฝนอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมตัวเตรียมใจ ในการเข้าสู่ตลาด
.
อันที่จริงแล้วก่อนจะเทรด ทุกคนควรจะรู้จักตัวเองก่อนว่า เราเหมาะกับการเทรดสไตล์ไหน เทรดสั้น เทรดยาว ซึ่งหลัก ๆ ก็ขึ้นอยู่กับทุน นิสัย จิตใจ และเวลาว่างของแต่ละคน
.
เทรดเดอร์แต่ะละคนไม่จำเป็นต้องทำเหมือน ๆ กัน จึงจะเทรดประสบความสำเร็จ แต่ที่สำคัญคือการรู้เขารู้เรา คือรู้นิสัยตัวเอง และรู้นิสัยของคู่ต่อสู้
เหมือนนักมวยที่รู้ว่าตัวเองเป็น Boxer หรือ Fighter ซึ่งจะร่างเล็ก พริ้วไหว หรือร่างใหญ่ใช้กำลัง ทุกคนมีโอกาสที่จะชนะในเกมทั้งคู่ถ้าเรารู้จุดอ่อนจุดแข็งที่เราและคู่ต่อสู้มี
.
เมื่อเราค้นหาตัวเองได้แล้วว่าเราเหมาะกับการเทรดแบบไหน ก็ไม่ใช่ว่าเราจะเริ่มเทรดได้ทันที ต้องเข้าใจก่อนว่า แม้ว่าตลาดทองคำและ Forex จะเปิด 24 ชม. ก็ไม่ได้แปลว่าจะเป็นโอกาสให้ทำกำไรได้ตลอด
.
ทุก ๆ สินทรัพย์ มีจังหวะและเวลาเหมาะสม เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ จะต้องมีการวางแผน ดังนั้น สเต็ปต่อไปก็คือการทำการบ้าน วางแผน เตรียมตัวก่อนเริ่มเทรดค่ะ
.
ในการวางแผน สิ่งที่เทรดเดอร์ทุกคนควรจะรู้คือ มีปัจจัยอะไรบ้าง ที่จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคา เพราะปัจจัยเหล่านี้มีผลกับการวิเคราะห์และเงินทุนของเราทั้งสิ้น เราก็มาเริ่มวิเคราะห์ไล่ทีละปัจจัยเลยค่ะ
.
1. #ช่วงเวลาทำการของแต่ละสกุลเงิน
สิ่งนี้จะทำให้เทรดเดอร์รู้ว่า เวลาไหนควรจะเลือกคู่ไหนมาเทรด ปกติในช่วงที่ธนาคารประเทศไหนเปิดทำการ สกุลเงินนั้นก็จะมี Volume หรือปริมาณการซื้อขายสูง เนื่องมาจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศนั้น ๆ และเทคนิคการเลือกก็คือ หากเทรดเดอร์ที่เล่นสั้น ๆ ก็ควรเลือกช่วงเวลาที่สกุลนั้น Active และเลือกให้เหมาะสมกับเวลาที่เราสะดวก เช่น หากทำงานประจำ จะสะดวกเวลาค่ำ ๆ ฉะนั้นคู่ที่เหมาะสมก็คือ คู่ที่มี USD หรือ Major Pair ทั้งหมด เช่น USDJPY, EURUSD, GBPUSD, USDCHF, AUDUSD, USDCAD รวมไปถึงทองคำด้วยเช่นกัน หากเทรดนอกช่วงเวลาที่ Active บ่อยครั้งเทรดเดอร์จะเจอปัญหาว่ากราฟเกิดการ Sideway ไม่มีทิศทาง ซึ่งส่งผลให้ทำกำไรได้ยาก
.
2. ปัจจัยพื้นฐาน – ข่าวประกาศตัวเลขสำคัญ
สืบเนื่องมาจากช่วงเวลาทำการ ถึงแม้เราจะทราบช่วงเวลากว้าง ๆ แต่หากเรารู้เวลาว่าไหน ข่าวสำคัญจะมีการประกาศ ก็จะทำให้เราเตรียมพร้อมก่อนคลื่นจะมาได้ ซึ่งการเทรดในช่วงข่าวสำคัญ เหมาะสำหรับสายเก็งกำไรระยะสั้นมาก ๆ แบบรายวินาทีหรือนาที ให้ตรวจสอบที่เว็บไซต์ forexfactory.com ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ข่าวดอกเบี้ย ที่ประกาศโดย Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่ละปีจะมีการประชุม 8 ครั้ง ตามกำหนดการของ FOMC ซึ่งจัดขึ้นทุก 6 สัปดาห์ ยิ่งข่าวไหน ไม่ได้ประกาศบ่อย ๆ ก็จะยิ่งมีความสำคัญเท่านั้นเพราะคนต่างก็รอคอย ในทางกลับกัน สายเทคนิคบางคนอาจจะไม่ชอบช่วงที่ข่าวแรง ๆ เข้ามาเพราะไม่อยากให้ราคาพุ่งผิดทางแล้วทำให้ขาดทุนได้ ก็สามารถติดตามข่าวเพื่อเลี่ยงการปะทะได้เช่นกัน แต่ข้อเสียนี้ก็มี เพราะเรารู้แค่ข่าวที่ออกตามตารางปฏิทิน แต่เราก็มักจะเจอข่าวนอกตาราง ที่ส่งผลอย่างรุนแรงต่อกราฟเช่นกัน เช่นการทำสงคราม การแพร่ระบาดของโรค ฯลฯ ดังนั้นมันอาจจะเป็นการยากต่อการหลีกเลี่ยงข่าวนอกตาราง
.
3. ปัจจัยทางเทคนิค – พฤติกรรมราคา
ปัจจัยสุดท้ายนี้ เป็นเรื่องที่เทรดเดอร์ส่วนมากนิยมกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสนใจข้อ 1 และ 2 เลยเทรดเดอร์ก็สามารถทำกำไรในเวลาใดก็ได้ โดยอาศัยทฤษฎีเกี่ยวกับกราฟและพฤติกรรมราคาสร้างออกมาเป็นกลยุทธ์ในการเทรด (Trade Setup) โดยเทรดเดอร์จะต้องหมั่นฝึกฝนและเก็บสถิติ โดยพื้นฐานแล้ว เทรดเดอร์ก็จะต้องวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้คือ
- เทรนด์หรือทิศทาง โดยตีเส้น Trend Line เพื่อหาแนวโน้มว่าควรจะเล่นตามทิศทางใด โดยส่วนใหญ่เทรดเดอร์จะเล่นตามเทรนด์ เพราะโอกาสชนะสูงกว่าการเล่นสวนเทรนด์
- กรอบของราคา ซึ่งในภาษาเทรดเดอร์เราเรียกว่า “แนวรับ-แนวต้าน” เพื่อที่จะหาช่วงการวิ่งของราคา และหาเป้าหมายที่เหมาะสมในการเข้าซื้อขาย โดยเครื่องมือในการหาเทรนด์และแนวรับแนวต้านในโปรแกรมที่เราเทรดกัน มีให้ใช้เยอะมากค่ะ แล้วแต่ความชอบเลย
- จังหวะในการเปิดออเดอร์ เทรดเดอร์มักจะดูจากพฤติกรรมราคาจากกราฟแท่งเทียน (Price Action) ซึ่งเป็นการสะท้อนจิตวิทยาของคนที่เข้ามาเทรด โดย Price Action ที่ทรงพลัง ต้องเกิดที่แนวรับ-แนวต้าน
- รูปแบบของกราฟ (Chart Pattern) เพื่อพิจารณารูปทรงว่าราคาจะมีการกลับตัวหรือไปต่อถึงไหนอย่างไร (ต้องอาศัยจินตนาการและการฝึกฝนบ่อย ๆ)
ทั้งหมดที่กล่าวมา ยิ่งเทรดเดอร์หาในกรอบเวลา (Time Frame) ใหญ่เท่าใด ความแม่นยำก็มากเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับทุนด้วย และทางที่ดี ควรหามากกว่า 1 กรอบราคา เพื่อดูแนวโน้มระยะสั้นและระยะยาวคู่กันไป
.
4. Money Management
ขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะเปิดคำสั่งซื้อขาย ก็คือการทำ MM เป็นการประเมินว่า แต่ละครั้ง จะยอมเสียเท่าไหร่ และได้เท่าไหร่ จากการหาราคาเป้าหมาย TP, SL เพื่อจะได้ประเมินขนาดสัญญา (Lot Size) ในการเทรด เพื่อรักษาเงินในมือของเราค่ะ
สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากนะคะ เพียงแค่เรามีการวางแผน สร้างกลยุทธ์ก่อนเริ่มเทรด และรอคอยให้เป็น มันก็เพิ่มโอกาสทำเงินให้เราได้มากขึ้น แต่น่าเสียดายที่หลายคน “ไม่วางแผน” และ “ไม่รอคอย” มันก็เลยเหมือนจะเป็นแค่การเสี่ยงดวงแค่นั้นค่ะ
.
สำหรับมือใหม่เลย ก็ขอแนะนำให้เปิดบัญชี Demo ก่อนนะคะ เพื่อที่จะฝึกการใช้เครื่องมือให้คล่องๆ และเอาไว้ทดสอบกลยุทธ์ที่เราจะใช้ แต่สุดท้ายอย่าเสียเวลากับมันนานค่ะ เพราะในเชิงจิตวิทยาแล้ว พอเราเทรดเงินจริง เราจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่า ซึ่งนี่แหละค่ะจะพิสูจน์ว่า เราเป็นเทรดเดอร์ที่จะประสบความสำเร็จหรือไม่
.
มาเริ่มฝึกฝนไปด้วยกัน สมัครเปิดบัญชีที่ link ด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ ♥️