fbpx

Basic Gold Spot & Forex

คอร์สพื้นฐาน การทำกำไรในตลาดทองคำและค่าเงิน เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น

Intensive Demand & Supply

คอร์สการหา Demand Supply Zone และเทคนิคการนำไปใช้งาน

Free Trading Tools

แจกฟรี! EA โรบอทช่วยเทรดทำกำไร และ Indicators

การพิจารณาโบรคเกอร์ Forex (ตอนที่1)

Image may contain: text that says 'FOREX BROKERS'

คำถามยอดฮิตที่สมาชิกหลายท่านถามกันมา คือเรื่องของ #โบรคเกอร์ ว่าควรเลือกโบรคเกอร์ไหนดี ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจในเรื่องของโบรคเกอร์กันนะคะ
อย่างแรกที่เราอยากจะให้สมาชิกได้เข้าใจ คือเรื่องของหน่วยงานที่ออกใบกำกับดูแลโบรคเกอร์ Forex ค่ะ เนื่องจากหน่วยงานที่รับรองนั้นมีผลมากต่อการพิจารณาเลือกโบรคเกอร์ที่สมาชิกจะเข้าไปเทรด เพราะเงินทุนของสมาชิกมีความสำคัญมากที่สุดค่ะ ต่อให้เทรดกำไรมากแค่ไหน แต่ถ้าสุดท้าย โบรคเกอร์ไม่น่าเชื่อถือ เงินทั้งหมดก็อาจจะสูญได้
.

ทำไมต้องมีโบรคเกอร์?

ตอบ.. อันที่จริง Broker เป็นคำเรียกในตลาดที่เป็นทางการและมีข้อกำหนดควบคุมชัดเจนอย่างการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ สำหรับตลาด Forex เป็นตลาดประเภท OTC (Over the counter) หรือ Interbank Market ก็คือตลาดที่ไม่มีศูนย์กลาง ไม่มีสถานที่ และไม่ได้กำหนดเวลาซื้อขายเปิดปิดตลาดที่แน่นอน โดยสามารถต่อรองปริมาณและราคากันได้ ตัวอย่างคือการมี Leverage และการซื้อในขนาดที่เล็กกว่ามาตรฐาน (Lot Size) ซึ่งการซื้อขายในตลาด OTC จะต้องมีผู้ขายซึ่งเรียกว่า Dealer หรือ Market Maker และผู้ซื้อ (แต่คนไทยนิยมเรียกฝั่งผู้ขายว่า Broker) จะเห็นว่าตลาด OTC นั้นมีความสะดวก ยืดหยุ่นมาก การซื้อขายลักษณะเช่นนี้หากมีการโกงเกิดขึ้นจะทำให้เราไม่สามารถร้องเรียนกับใครที่ไหนได้เลย ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแลตรงนี้เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและนักเก็งกำไร เปรียบเทียบกับตลาดหุ้น ก็ต้องมี กลต. รับรองว่าเป็นโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ
.

มีหน่วยงานอะไรบ้างที่กำกับดูแลโบรคเกอร์ Forex?

ตอบ.. ดังที่ทราบกันแล้วว่าตลาด Forex ต้องมีผู้ขาย ซึ่งทั่วโลกมีหลายหน่วยงานเลยทีเดียวที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อออกใบรับรองการกำกับดูแล (Regulation) ให้กับโบรคเกอร์ และแต่ละหน่วยงานจะมีกฎระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติ เรามาดูกันว่าหน่วยงานเหล่านี้ลงทะเบียนไว้ที่ประเทศไหนบ้าง โดยเราจะยกตัวอย่างหน่วยงานที่นิยมใช้กันทั่วโลก และข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกำกับดูแลเพื่อให้เทรดเดอร์นำไปพิจารณาตอนที่เลือกโบรคเกอร์ดังนี้ค่ะ
.

  1. CySEC – Cyprus Securities and Exchange Commission เป็นหน่วยงานกำกับโบรคเกอร์ Forex ซึ่งอยู่ในประเทศ Cyprus โดยหน่วยงานนี้จะควบคุมการทำงานของโบรคเกอร์ที่ให้บริการด้านธุรรกรมการเงิน ตลอดจนควบคุมดูแลบริษัททางการเงินให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
  2. ASIC – Australian Securities and Investment Commission เป็นหน่วยงานกำกับโบรคเกอร์ Forex ซึ่งอยู่ในประเทศ Australia โดยหน่วยงานนี้จะกำกับดูแลบริษัท และตลาดทางการเงินรวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียทั้งหมด
    .
  3. St. Vincent – St. Vincent and the Grenadines เป็นการกำกับดูแลและควบคุมการดำเนินงานของหน่วยงานทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบสถานะทางการเงินและการดำเนินงานของสถาบันการเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าสถาบันเหล่านี้ปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำที่กำหนดโดยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดย St. Vincent นั้นได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคและเป็นสมาชิกของหลายหน่วยงานในภูมิภาคแคริบเบียน
    .
  4. MAS – Monetary Authority of Singapore MAS เป็นผู้ควบคุมและกำกับดูแลสถาบันการเงินในสิงคโปร์ และMAS กำหนดกฎเกณฑ์สำหรับสถาบันการเงินซึ่งดำเนินการผ่านกฎหมายข้อบังคับทิศทางและประกาศต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนแนวทางปฏิบัติที่ดีระหว่างสถาบันการเงิน
    .
  5. FSA – Financial Services Authority เป็นหน่วยงานกำกับดูแลสำหรับบริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ซึ่ง FSA เริ่มก่อตั้งที่ญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติ Financial Services Authority 2013 โดยหน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการออกใบอนุญาตกำกับดูแลและพัฒนาอุตสาหกรรมบริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารของญี่ปุ่น หน่วยงานนี้ยังรับผิดชอบในการจดทะเบียน บริษัท ธุรกิจระหว่างประเทศมูลนิธิ ปัจจุบันมี FSA ภายใต้กฎหมายของ Seychelles และ St. Vincent ด้วยค่ะ
    .
  6. FCA – Financial Conduct Authority เป็นหน่วยงานที่ค่อนข้างจะมีชื่อเสียงที่สุดในโลกในด้านการกำกับดูแลของโบรคเกอร์ Forex และการเงินด้านอื่น ๆ โดย FCA นั้นร่วมงานกับ Bank of England และ Prudential Regulatory Authority ถึงแม้ว่ากระบวนการการกำกับโบรคเกอร์ Forex จะดำเนินการโดย FSA (Financial Services Authority) ในช่วงก่อนปี 2013 ก็ตาม ซึ่งเพื่อให้ครอบคลุมการบริการที่หลากหลายของเครื่องมือทางการเงินทางรัฐบาลอังกฤษจึงได้มี FCA ขึ้นมาเพื่อเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการมากขึ้น
    .
  7. FINMA – Swiss Financial Market Supervisory Authority เป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านการตลาดการเงินอิสระของสวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคาร บริษัทประกันภัยการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน โบรกเกอร์ หลักทรัพย์ แผนการลงทุนแบบรวมและผู้จัดการสินทรัพย์และบริษัทจัดการกองทุน
    .
    จากการยกตัวอย่าง ทั้ง 7 หน่วยงาน เราอาจจะพบว่า มีบางโบรคเกอร์ที่จดทะเบียนไว้หลายหน่วยงาน เป็นเพราะว่า โบรคเกอร์ต้องการเจาะตลาดในกลุ่มภูมิภาคเหล่านั้น จึงไปตั้งบริษัทในพื้นที่ใกล้เคียงโดยเฉพาะในประเทศที่คาดว่าจะมีกลุ่มลูกค้า และเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังทำให้เป็นไปตามที่กรอบกฎหมายของประเทศนั้นกำหนด ถึงแม้ในไทยจะยังไม่มีกฎหมายรองรับในส่วนนี้ แต่ด้วยความนิยมของแต่ละ #การกำกับดูแล ที่โบรคเกอร์ในบ้านเรานิยมกันอยู่ อาจจะช่วยเป็นการประกอบการตัดสินใจในการ #เลือกโบรคเกอร์ได้
    .

ทำไมประเทศไทยไม่มีโบรคเกอร์ Forex?

ตอบ.. ดังตัวอย่างหน่วยงาน 7 หน่วยงาน จะเห็นว่าไม่มีหน่วยงานใดที่อยู่ในประเทศไทยเลย อันนี้บอกได้คำเดียวค่ะว่ากฎหมายไทยยังไม่มีการรองรับให้รายย่อยเข้ามาเก็งกำไรในค่าเงิน ซึ่งหากประเทศไทยมีหน่วยงานมากำกับดูแล ก็อาจจะยุ่งยากมากกว่านี้ เอาเป็นว่า แบบนี้ดีแล้วค่ะ อนาคตก็ไม่แน่นะคะ อย่างน้อยโบรคเกอร์ก็จะมีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยมากขึ้นค่ะ ><
.

จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าโบรคเกอร์มีการจดทะเบียนไว้จริง?

ตอบ.. ส่วนมากโบรคเกอร์ที่จดทะเบียนจะมีการแสดงเลขใบรับรองไว้ในเว็บไซต์ของโบรคเกอร์ อาจจะอยู่ด้านล่างของเว็บ หรือในหน้า About โดยจะมีการระบุสถานที่จดทะเบียนว่าอยู่ประเทศใดอย่างชัดเจน นอกจากการระบุไว้ในเว็บไซต์แล้ว เราสามารถนำเลขทะเบียนนั้น ไปค้นหาและตรวจสอบในเว็บของหน่วยงานที่กำกับดูแลได้ เช่น FCA ก็สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ fca.org.uk ว่าตรงกันกับที่เว็บไซต์ของโบรคเกอร์นั้น ๆ ได้อ้างอิงหรือไม่ เนื่องจากบางโบรคเกอร์อาจจะมีการแอบอ้างนำเลขจดทะเบียนของโบรคเกอร์รายอื่นมาใช้ เทรดเดอร์จึงต้องตรวจสอบทั้งสองทางค่ะ ต่อให้เพื่อนชวน หรือใครบอก ก็อย่าเชื่อเท่ากับเราตรวจสอบเองค่ะ
.
อย่างไรก็ตาม การที่โบรคเกอร์จดทะเบียนก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพิจารณา ไม่ได้มีการการันตีว่าเงินท่านจะไม่สูญ เพราะโบรคเกอร์ก็คือบริษัท ซึ่งถ้าบริษัทบริหารการเงินไม่ดีก็อาจจะล้มได้ สิ่งสำคัญในการเลือกโบรคเกอร์มีอีกหลายปัจจัยมากมาย เราจะมาแนะนำในบทความต่อไปนะคะ

มิ้้ว ๆ ^^

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *